วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บรรณารักษ์...กับ...การส่งเสริมการรู้สารสนเทศ

          วันนี้ คุณกนกอร ไชยรัตน์ จะมาเล่าสู่กันฟัง ในเรื่องการทำงานเกี่ยวกับการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ และเป้าหมายของเธอ มาดูกันว่า งานของเธอมีขั้นตอนอย่างไร จึงจะสื่อออกมาให้ผู้อ่านเข้าใจและสนใจในสิ่งที่เธอต้องการนำเสนอแก่ผู้อ่าน


กนกอร ไชยรัตน์

          สวัสดีค่ะ ดิฉันชื่อกนกอร ไชยรัตน์ เป็นบรรณารักษ์ หน่วยห้องสมุด งานบริหารทรัพยากรการเรียนรู้ค่ะ ทำงานเกี่ยวกับการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ ซึ่งภาระงานคือการนำเสนอสารสนเทศในรูปแบบต่างๆสู่ผู้ใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการจัดอบรม การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น แผ่นพับ โปสเตอร์ หรือผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่นแจ้งข่าวสารผ่านหน้าเว็บไซต์ห้องสมุด, จัดทำบล็อกข่าวและกิจกรรมห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี รวมไปถึงการจัดทำคำแนะนำและโปรแกรมการสอนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์


          โดยในการทำงานนั้น ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวเพราะการจัดทำในแต่ละเรื่องนั้นล้วนมีคอนเซปต์ที่แตกต่างกันไป สิ่งที่เราต้องทำคือ

- เราจะจัดทำเรื่องอะไร

- เราจะจัดทำสื่อออกมาในรูปแบบไหน เช่น โปสเตอร์ แผ่นพับ หรือจะผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

- วางรูปแบบเนื้อหาให้สัมพันธ์กับสื่อที่เลือก เช่น ข้อมูลที่อยู่ในโปสเตอร์ควรเป็นเนื้อหาที่เด่นและสำคัญ และไม่ควรเยอะมากเกินไป ส่วนในแผ่นพับนั้น สามารถลงเนื้อหาได้ละเอียดกว่าโปสเตอร์ในระดับหนึ่ง

          จากนั้นก็เป็นการร่างรูปแบบว่าจะวางรูปอะไรใส่ข้อมูลตรงไหน ทำอย่างไรให้รู้สึกว่าน่าสนใจ และทำให้คนหยุดอ่านได้

          สำหรับเป้าหมายในการทำงานแต่ละครั้ง ดิฉันหวังเพียงแค่ว่า สิ่งที่ได้จัดทำและสื่อออกไปจะสามารถเป็นประโยชน์กับผู้รับได้บ้างไม่มากก็น้อย ทุกครั้งที่ได้เห็นมีคนมาหยุดยืนอ่าน หรือมีเข้าไปอ่านผ่านเว็บไซต์ในสิ่งที่เราจัดทำก็รู้สึกมีกำลังใจในการทำงานครั้งต่อๆไปแล้วล่ะค่ะ ขอบคุณค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บริการ คือ งานของเรา

บริการคืองานของเรา คติในการทำงานของ เจ้าหน้าที่งานบริการน้องใหม่ คุณปรียา สโมสร


          สวัสดีค่ะ ข้าพเจ้านางสาวปรียา สโมสร ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ในหน่วยงานบริหารทรัพยากรการเรียนรู้ ห้องสมุดแห่งนี้เป็นสถานที่ทำงานแห่งแรกของข้าพเจ้า หน้าที่ประจำของข้าพเจ้าคือ บริการยืม-คืนหนังสือ ยืมหนังสือต่างคณะผ่านทางบริการ Book Mobile หาวารสารต่าง ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการ จัดเรียงหนังสือเข้าชั้นตามหมวดหมู่

          ในทุก ๆ เช้าข้าพเจ้าจะ จัดทำ Book Mobile หรือบริการยืมคืนหนังสือต่างคณะ ข้าพเจ้าจะตรวจดูคำขอยืมหนังสือจากคณะอื่น ทาง E-mail แล้วดำเนินการหาตัวเล่ม และทำการยืมส่งให้กับห้องสมุดที่ส่งคำขอผ่านทางผู้จัดส่งหนังสือ เมื่อได้รับหนังสือจากคณะอื่นข้าพเจ้าก็จะทำการแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบว่าหนังสือที่ท่านได้ทำการขอยืมได้ดำเนินการส่งมาแล้วนะคะ โดยแจ้งผ่านทาง E-mail และทางโทรศัพท์

          จัดเรียงหนังสือเข้าชั้นโดยเรียงตามหมวดหมู่ หน้าที่นี้จะทำในทุก ๆ เช้าของทุก ๆ วัน

          การหาวารสาร หากผู้ใช้ต้องการวารสารในเรื่องใด ข้าพเจ้าก็จะรับเรื่องจากผู้ใช้ แล้วดำเนินการหาเบื้องต้นก่อนโดยหาผ่านทาง Internet, E-Journal, Pub med และหาตัวเล่มตามชั้นวารสาร ถ้าหากหาไม่ได้จริง ๆ ก็จะดำเนินการส่งให้บรรณารักษ์ผู้เชี่ยวชาญหาในลำดับต่อไป

          “บริการคืองานของเรา” ข้าพเจ้าในฐานะผู้ให้บริการ ดั้งนั้นการบริการของข้าพเจ้าจึงทำไปด้วยความตั้งใจ ใส่ใจในการให้บริการ เพื่อให้ผู้ใช้พึงพอใจ หากเราบริการด้วยใจแล้วเราก็จะได้ใจนั้นตอบ ข้าพเจ้าจึงทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในทุก ๆ หน้าที่ของทุกวันอย่างตั้งใจ เพื่อให้งานนั้นออกมาแล้วได้รับความประทับใจในการบริการ

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

...วันนี้คืออดีต...

                    เล่าสู่...กันฟังวันนี้ ผู้ที่จะมาเล่าถึงการทำงาน และที่มาที่ไปของ "วันนี้...คืออดีต" ว่าเป็นมาอย่างไร และทำไมจึงเกิดงานนี้ขึ้นมา คือ คุณอาทิตย์ โสลี

อาทิตย์ โสลี
                       เรามาดูกันว่าคุณอาทิตย์ จะเล่าถึงการทำงานของเขาอย่างไรบ้าง.....

สวัสดีครับผมชื่อ อาทิตย์ โสลี เป็นเจ้าหน้าที่หน่วยจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดี โดยเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการของหน่วยฯและถ่ายรูปเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เกี่ยวข้องกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อจัดเก็บเป็นข้อมูลอ้างอิงในงานของจดหมายเหตุฯ


ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2553 เวลา 15.30 น. ผมได้มีโอกาสคุยกับหัวหน้าเกี่ยวกับเรื่องเอกสาร ซึ่งก่อนหน้านี้เคยได้ยินหัวหน้าพูดถึงเรื่องการถ่ายรูปภายในโรงพยาบาลว่า

“เหตุการณ์ต่างๆ ในโรงพยาบาลควรจะเก็บไว้ เพราะอีกหน่อยในอนาคตเราจะได้ย้อนกลับมาดูได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในรามาธิบดี”

ผมจึงเสนอตัวทำงานตรงนี้เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญ และอีกประการหนึ่งเป็นคนชอบถ่ายรูปอยู่แล้ว หัวหน้าจึงถามว่า "แล้วเธอต้องทำอะไรบ้างไหนลองบอกมาซิ" ตอนนั้นผมรู้สึกว่าก็แค่ถ่ายรูปไม่น่าจะมีอะไรมาก แต่พอให้บอกถึงรายละเอียดจริง ๆ ถึงกับพูดไม่ออกเลย เพราะว่าไม่รู้ต้องทำอะไรบ้าง หัวหน้าก็ถามต่อว่า "แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง" ผมก็ตอบไม่ถูกแล้วก็นิ่งไปซักพัก หัวหน้าเลยบอกว่าให้กลับไปหาคำตอบภายในวันพรุ่งนี้

ซึ่งตัวผมเองกลับบ้านไปแล้วได้เขียนรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาต่างๆ มา ดังนี้

1. กราฟรายละเอียดงาน (ก้างปลา) เพื่อแจกแจงงานให้เห็นภาพชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง

2. ลิงค์เว็บไซต์ของแต่ละภาควิชาทั้งหมดในรามาธิบดี เพื่อติดตามข่าวสารของทางภาควิชานั้นๆ

3. ทำตาราง Excel เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ

4. ติดต่อเจ้าหน้าที่ต่างๆ ของภาควิชาหรือห้องประชุม (สถานที่จัดงานบ่อยๆ) เพื่อทำความรู้จักและสร้างเครือข่ายจะได้ทำงานได้ง่ายขึ้น

5. หาข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างในรามาธิบดี
ต่อมาได้คุยกับหัวหน้าและหัวหน้าก็ถามว่าเราจะทำอย่างไรให้คนอื่นรู้ว่าเราคือจดหมายเหตุฯ ผมก็เลยมีความคิดว่าถ้าเราแสดงหรือมีสัญลักษณ์ที่ให้คนเห็นง่าย ๆ เป็นที่สะดุดตาจะทำให้คนรู้จักเราได้ง่ายขึ้น ผมเลยจัดทำเสื้อ ขึ้นมาโดยข้างหลังปักเป็นตัวสีทองและเสื้อสีม่วงโดยข้างหลังเขียนว่า “หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดี วันนี้คืออดีต”

กราฟก้างปลา
ตัวอักษรที่ปักด้านหลังเสื้อ

โดยคำว่า “วันนี้คืออดีต” มาจากแนวความคิดที่ว่า...วันเวลาที่ผ่านไปเรื่อยๆ พอนานเข้าก็จะกลายเป็นอดีต ไม่เว้นแม้แต่วันนี้ ซึ่งพอถึงพรุ่งนี้ก็จะกลายเป็นอดีตไปเช่นเดียวกัน...

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เว็บไซต์ใหม่ของห้องสมุด...

          ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นแหล่งให้บริการสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ในสาขาทางการแพทย์ พยาบาล และอื่น ๆ และประมาณสิ้นปี 2553 ห้องสมุดจะย้ายจากอาคาร 6 ไปยังอาคารเรียนและปฏิบัติการรวมซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างโดยกำหนดให้เป็นห้องสมุดที่ทันสมัยและเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

          ดังนั้น เว็บไซต์ก็เป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งที่ควรเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น นอกจากช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้บริการแล้ว ยังถือเป็นภาพลักษณ์อย่างหนึ่งของหน่วยงานอีกด้วย

          เว็บไซต์เดิมของห้องสมุดรูปแบบยังดูไม่ทันสมัยมากนัก และข้อมูลบางส่วนไม่สามารถทำการ Update ข้อมูลได้ จึงทำให้เหมือนกับเว็บไซต์คงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นหัวหน้าจึงได้จัดทำ CoPs นี้ขึ้นเพื่อระดมความคิดและช่วยกันพัฒนาเว็บไซต์ห้องสมุด เพื่อให้มีความทันสมัย และเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย  
  
เว็บไซต์เดิม
  
ปรึกษาหารือ

สู่เว็บไซต์ใหม่

          จากการระดมความคิดของสมาชิกใน CoPs ทำให้เกิดเว็บไซต์ใหม่ของห้องสมุด (ดังภาพข้างบน) เว็บไซต์ดูมีสีสันสวยงาม ทันสมัย ข้อมูลเข้าถึงง่าย เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง (E-Library)

สมาชิก CoPs ประกอบด้วย
  • ดร.สมรักษ์ สหพงศ์
  • นายกิติศักดิ์ จันฤาชัย
  • นางสาวเพ็ญศรี ไชยพงศ์
  • นางสาวสุภาภรณ์ แก้วโภคา
  • นายเกรียงศักดิ์ บุญถวิล
  • นางสาวไพลิน ทิพย์สุมาลัย
  • นางสาวกนกอร ไชยรัตน์
  • นางสาวชัชชญา คัณฑเขตต์
  • นางสาวพรชนก นุชนารถ


วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

ความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการของห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

          การวิจัยแบบสำรวจนี้ เป็นการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการจำนวน 200 คน ต่อคุณภาพบริการของห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีนี้ใช้เครื่องมือการประเมินคุณภาพทางห้องสมุดที่เป็นสากลคือ LibQUAL+ ซึ่งประกอบด้วย ความพึงพอใจ 3 ด้าน คือ ความรู้สึกด้านบริการห้องสมุด 3 ด้านคือ ความรู้สึกที่มีต่อบริการ (Affect of service) ห้องสมุดคือแหล่งค้นคว้า (Library as place) และการควบคุมสารสนเทศ (Information control) โดยให้มีระดับความพึงพอใจ 3 ระดับ คือ ต่ำสุดที่ยอมรับได้ บริการที่ต้องการและบริการที่ได้รับจริง แต่ละระดับมีคะแนน 1-9 คือ ต่ำ เป็น 1 และ  สูง เป็น 9 รวมทั้งสอบถามระดับที่เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ภาพรวม ความถี่การเข้าใช้ห้องสมุด เพราะเมื่อพิจารณาคะแนนของระดับบริการที่ได้รับจริงในแต่ละข้อ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นไปตามที่ผู้ประเมินต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านที่ผู้ให้บริการมีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ (ร้อยละ 85)  ในด้านคุณภาพโดยรวมของห้องสมุดในระดับสูง (ร้อยละ 80) มีความพึงพอใจที่ได้รับการปฏิบัติจากห้องสมุดในระดับดีเลิศ (ร้อยละ 90) ผลจากการวิเคราะห์ความพึงพอใจในส่วนของห้องสมุดมีส่วนในการเพิ่มสมรรถนะทางการศึกษาในระดับสูงและมีความพึงพอใจต่อความช่วยเหลือของห้องสมุดในด้านการศึกษา วิจัย และการสอนในระดับสูง  เป็นการบ่งบอกว่า ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนพันธกิจด้านการศึกษาซึ่งเป็นพันธกิจหลักของคณะฯโดยมีผลงานที่เป็นที่ประจักษ์แก่องค์กรหลักได้ดี อย่างไรก็ตามห้องสมุดต้องปรับปรุงเว็บไซต์ให้ใช้งานง่ายขึ้น

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

อบรม Microsoft Word 2007

          วันที่ 18-20 กันยายน 2553 หน่วยสร้างเสริมการรู้สารสนเทศ ได้จัดฝึกอบรมการใช้โปรแกรม Microsoft Word 2007 เนื่องจาก Microsoft Office ได้ปรับปรุงเป็นเวอร์ชั่น 2007 ซึ่งปัจจุบันทุกท่านยังไม่คุ้นเคย เพราะส่วนใหญ่ยังใช้เวอร์ชั่น 2003 แต่อนาคตต่อไปคงต้องเปลี่ยนเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด ดังนั้นกลุ่ม CoPs จึงเล็งเห็นว่าเราควรพัฒนาให้ทันกับโลกปัจจุบัน จึงจัดการอบรมนี้ขึ้นมา โดยผู้อบรมคือ คุณวิไลวรณ์ ดีตัน บรรยากาศในระหว่างการอบรมค่อนข้างเป็นกันเอง มีการถาม-ตอบกันไปมาระหว่างผู้อบรมและผู้เข้าร่วม

วิไลวรณ์ ดีตัน     และ     บรรยากาศการอบรม

        Microsoft Word 2007เป็นหนึ่งโปรแกรมของโปรแกรม Suite (รวมมิตร) ซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมหลัก ๆ คือ

  • Microsoft Word - งานเอกสาร
  • Microsoft Excel - งานตาราง คำนวณ
  • Microsoft PowerPoint - งานนำเสนอข้อมูล
  • Microsoft Access - งานระบบฐานข้อมูล
          เดิมการพัฒนาของ Microsoft ที่เกี่ยวเนื่องกับ Microsoft Office จะไม่มีความแตกต่างมากนัก โดยมักเน้นพัฒนาในเรื่องของความสามารถ (Features) ของโปรแกรมให้มากขึ้น ใช้งานสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้งานเป็นหลัก แต่ต่อมา นับตั้งแต่ Microsoft Office 2007 พัฒนาขึ้นมา และเริ่มใช้งาน จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเฉพาะหน้าตาและไอคอนต่าง ๆ ซึ่งเมนูและไอคอน หาย เปลี่ยนเป็น Ribbon (ทูลบาร์ใน Microsoft Office เวอร์ชั่นเก่า เป็นที่รวมเครื่องมือต่างๆ ในการใช้งานและสั่งงานต่าง ๆ) แทน
  • ไฟล์ที่บันทึก (Save) เดิมมีนามสกุล .DOC ของใหม่เปลี่ยนเป็น .DOCX
  • การปรับแต่งโปรแกรมจากเมนู Options ถูกย้ายมาสู่ Office Button แล้ว ให้คลิกเลือก จะอยู่มุมขวาล่าง "Word Options"
  • เราสามารถปรับเปลี่ยนการบันทึกไฟล์จาก .DOCX เป็น .DOC ได้ เพื่อแก้ปัญหาคนอื่น ไม่สามารถเปิดดูได้โดยการเข้าไปที่ "Word Options" เลือกหัวข้อ "Save" จากนั้น ให้เลือก "Save files in this format" ให้เลือกเป็น "Word 97-2003 Document"
  • ถ้าต้องการบันทึก ให้คลิกไอคอนวงกลมด้านบนซ้ายสุด (Office Button) จะมีเมนูให้เลือก Save

                        ภาพเปรียบเทียบระหว่าง Microsoft Word 2007 และ 2003
Word 2007 (บน) VS Word 2003 (ล่าง)

          จากการฝึกอบรมครั้งนี้ ทำให้เราทราบความแตกต่างระหว่าง Microsoft Word 2007 กับ 2003 และรู้จักวิธีการใช้งานในแต่ละเมนู เพื่อรองรับเทคโนโลยีต่างในอนาคต และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

สมาชิกผู้เข้าร่วมอบรม ประกอบด้วย
  • นายกิติศักดิ์ จันฤาชัย
  • นางสาวสุภาภรณ์ แก้วโภคา
  • นายเกรียงศักดิ์ บุญถวิล
  • นางสาวไพลิน ทิพย์สุมาลัย
  • นางสาวพัฒชา เสตะกสิกร
  • นางสาวกนกอร ไชยรัตน์
  • นางสาวชัชชญา คัณฑเขตต์
  • นางภนิตา พรหมนิตย์
  • นางเบญจวรรณ ประกอบทอง
  • นายปกรณ์ สุวรรณสถิตย์
  • นางวัชรินทร์ กนกทรัพย์
  • นางสุรางค์ ธีระมิตร
  • นางนิภา กระจ่างวุฒิชัย
  • นางวีณา ชัยเวช
  • นางพรทิพย์ ยินดีธรรม
  • นางสาวอรุณรัตน์ อินผึ้ง
  • นางสาวพรชนก นุชนารถ
  • นางสาววิมลลักษณ์ อิ่มโอชา
  • นางสาวลักขณา บุบผาชาติ
  • นายอาทิตย์ โสลี
  • นางสาวเมทินี แสวานี




วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

ส่งไม้คำถามเพิ่มความรู้ ครั้งที่ 2 : Social Network

          ส่งไม้คำถามเพิ่มความรู้ ครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นช่วงวันที่ 13 – 17 กันยายน 2553 ซึ่งปัจจุบันนี้ Social Network เป็นคำที่มีการพูดถึงเป็นจำนวนมาก ดังนั้น กลุ่ม CoPs เทคโนโลยี จึงได้หยิบยกคำนี้ขึ้นมาตั้งเป็นโจทย์ เพื่อให้เพื่อน ๆ ค้นหาความหมายและอธิบายถึงประโยชน์ในการนำมาใช้ภายในหน่วยงาน สมาชิกกลุ่ม CoPs ประกอบด้วย


          จากการรวบรวมคำอธิบายของแต่ละคน จึงสรุปคำว่า "Social Network" ดังนี้

          Social Network คือ สังคมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือสังคมบนโลกออนไลน์นั้นเอง เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบของเว็บไซต์ในการสร้างเครือข่ายสังคมสำหรับผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต โดยที่บุคคลสามารถทำความรู้จักเขียนและอธิบายความสนใจ กิจกรรมที่ได้ทำและเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ในสังคมบนโลกออนไลน์มักจะประกอบไปด้วยการ Chat การส่งข้อความ ส่ง E-mail เว็บบอร์ด บล็อก ฯลฯ


Social Network เริ่มต้นมาจากเว็บไซต์ Classmates.comและเว็บไซต์ SixDegrees.com ได้จัดทำขึ้นเพื่อจำกัดการใช้งานเฉพาะกลุ่มนักเรียนในโรงเรียนเดียวกัน โดยสร้างประวัติ การส่งข้อความติดต่อสื่อสาร รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สนใจร่วมกันภายในกลุ่มเท่านั้น ต่อมามีเว็บไซต์ Epinions.com พัฒนาโดย Jonathan Bishop ได้ทำการเพิ่มในส่วนของการที่ผู้ใช้สามารถควบคุมเนื้อหาและติดต่อถึงกันได้ไม่เพียงแต่เพื่อนในลิสต์เท่านั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ Social Networking ทั้งหลายที่ก่อกำเนิดต่อมาในยุคปัจจุบัน เช่น Facebook, Myspace, Google เป็นต้น


          เนื่องจากมีเว็บไซต์ในลักษณะ Social Network เป็นจำนวนมาก จึงแบ่งประเภทของ Social Network ได้ 6 ประเภท ดังนี้

1. ประเภทแหล่งข้อมูลหรือความรู้ (data/knowledge) เช่น wikipedia, answers, google, digg, bittorrent ฯลฯ เป็นต้น

2. ประเภทสื่อ (media) การแบ่งปันภาพ คลิปวีดีโอ ภาพยนตร์ เพลง ฯลฯ YouTube, imeem, Bebo, Yahoo Video, Ustream.tv ฯลฯ เป็นต้น

3. ประเภทเกมส์ออนไลน์ (online games) ที่นิยมมาก เช่น Ragnarok, Audition, Pangya, SecondLife ฯลฯ เป็นต้น

4. ประเภทสร้างเครือข่ายทางสังคม (community) เช่น Hi5, Facebook, MySpace, MyFriend ฯลฯ เป็นต้น

5. ประเภทฝากภาพ (Photo management) เช่น Flickr, Photoshop Express, Photobucket ฯลฯ เป็นต้น

6.ประเภทซื้อ-ขาย (business/commerce) เช่น eBay, Amazon, Tarad, Pramool เป็นต้น

Social Network

การนำ Social Network มาใช้ในงานห้องสมุด

- ใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ข้อมูลกิจกรรมต่างๆภายในหน่วยงาน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งสะดวก รวดเร็ว ผู้ใช้สามารถรับข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน

- เป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนความรู้หรือแสดงความคิดเห็น ในเรื่องต่างๆ เช่นการใช้บล็อก สร้างกลุ่มสนนทนา ตอบคำถามให้แก่ผู้ใช้ รวมไปถึงข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการ เป็นต้น

- เป็นช่องทางในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับหน่วยงาน

สมาชิกกลุ่ม CoPs ประกอบด้วย
  • ดร.สมรักษ์ สหพงศ์
  • นางสาวเพ็ญศรี ไชยพงศ์
  • นายกิติศักดิ์ จันฤาชัย
  • นางสาวสุภาภรณ์ แก้วโภคา
  • นายเกรียงศักดิ์ บุญถวิล
  • นางสาวไพลิน ทิพย์สุมาลัย
  • นางสาวพัฒชา เสตะกสิกร
  • นางสาวกนกอร ไชยรัตน์
  • นางสาวชัชชญา คัณฑเขตต์
  • นางภนิตา พรหมนิตย์
  • นางเบญจวรรณ ประกอบทอง
  • นายปกรณ์ สุวรรณสถิตย์
  • นางวัชรินทร์ กนกทรัพย์
  • นางสุรางค์ ธีระมิตร
  • นางนิภา กระจ่างวุฒิชัย
  • นางวีณา ชัยเวช
  • นางพรทิพย์ ยินดีธรรม
  • นางสาวอรุณรัตน์ อินผึ้ง
  • นางสาวพรชนก นุชนารถ
  • นางสาววิมลลักษณ์ อิ่มโอชา
  • นางสาวลักขณา บุบผาชาติ
  • นายอาทิตย์ โสลี
  • นางสาววิไลวรณ์ ดีตัน
  • นางสาวเมทินี แสวานี

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

ส่งไม้คำถามเพิ่มความรู้ ครั้งที่ 1 : QR Code กับงานห้องสมุด

กลุ่ม CoPs เทคโนโลยี เห็นว่าปัจจุบันนี้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้เกิดขึ้นมาอย่างรวดเร็ว และไม่หยุดนิ่ง ดังนั้นจึงได้เกิดกิจกรรม "ส่งไม้คำถามเพิ่มความรู้" ขึ้น ลักษณะของกิจกรรมนี้ คือ หาคำศัพท์ที่ทันสมัยมาให้เพื่อน ๆ ค้นหาความหมายและอธิบายถึงประโยชน์ในการนำมาใช้ภายในหน่วยงาน โดยสัปดาห์แรกของกลุ่ม CoPs นี้เริ่มขึ้นช่วงวันที่ 6 10 กันยายน 2553 ซึ่งใช้ชื่อว่า "QR Code กับงานห้องสมุด" คือ ให้ทุกคนไปหาความหมายและประโยชน์ของ QR Code รวมถึงการนำมาประยุกต์ใช้ในงานหน่วยงาน
กล่าวโดยสรุปแล้ว QR Code เป็นคำย่อมาจาก Quick Response Code เป็นรูปแบบบาร์โค้ด 2 มิติแบบใหม่เรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า “Two-Dimensional Bar Code” QR Code สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ทั้งภาพ เสียงและข้อความ สำหรับ QR Code นั้นมีมาตั้งแต่ปี 1994 ซึ่งคิดค้นโดยบริษัท Denso Wave จากประเทศญี่ปุ่น ลักษณะการทำงานของ QR Code เพียงแค่ใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพ QR Code ที่เห็นและนำไปอ่านด้วยโปรแกรม QR Code Reader เพียงแค่นี้ก็สามารถได้รายละเอียดข้อมูลของ QR Code นั้น ๆ ได้


Barcode 1 มิติ หรือ Barcode รหัสแท่ง




พัฒนามาเป็น Barcode 2 มิติ หรือ QR Code
          ในส่วนของการสร้าง QR Code ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปสร้างได้ที่เว็บไซต์ http://qrcode.kaywa.com/ จากนั้นเลือกหัวข้อที่ต้องการจะสร้าง เช่น ลิงค์ของเว็บไซต์ ชื่อที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น


          จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้ได้ข้อสรุปการนำ QR Code มาใช้ในงานห้องสมุด ดังนี้
- ในส่วนของการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับงานห้องสมุด เช่น เว็บไซต์ของห้องสมุด/หอจดหมายเหตุ แผนที่ แผนผังของห้องสมุด เวลาเปิด-ปิดห้องสมุด เบอร์โทรศัพท์ของห้องสมุด นำมาเผยแพร่บล็อก Facebook Twitter แผ่นพับ โปสเตอร์ รวมทั้งเอกสารการอบรมการใช้ฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่ห้องสมุดบอกรับ เป็นต้น


- บันทึกข้อมูลจัดทำนามบัตร ข้อมูลครุภัณฑ์ของห้องสมุด เอกสารหนังสือเวียนต่าง ๆ เพื่อประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บเอกสาร ประหยัดเวลา และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน


- บันทึกข้อมูลรายละเอียดของห้องประชุม เช่น ตารางการใช้ห้อง จำนวนที่นั่ง/อุปกรณ์เทคโนโลยีที่มีให้บริการ เป็นต้น


- บันทึกรายละเอียดทางบรรณานุกรมของหนังสือแต่ละเล่ม เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ปี จำนวนหน้า เป็นต้น


- บันทึกข้อมูลข้อมูลด้านการจัดซื้อจัดหา เช่น รายชื่อหนังสือใหม่ ข้อมูลร้านจำหน่ายหนังสือ เป็นต้น


- บันทึกข้อมูลรายชื่อหุ่นและอุปกรณ์ใน Skill Lab


- นำ QR Code มาใช้ในงานจดหมายเหตุ เช่น หนังสือ/เอกสารเก่าๆ รวมทั้งรูปภาพที่หายากและมีคุณค่าไม่ต้องการให้จับต้อง สามารถ Scan Code รายละเอียดของเอกสารเหล่านั้น ติดไว้ด้านหน้าตู้หรือกล่องให้ผู้ที่สนใจ Scan Code อ่านข้อมูลได้


- นำมาบันทึกแบบประเมินผล รวมทั้งข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการได้


          นอกจากจะทำให้ได้รับความรู้และประโยชน์ของ QR Code แล้ว ทุกคนก็สามารถที่จะทำ QR Code ได้ด้วยตนเองจากเว็บไซต์ข้างต้น และต่อไปในอนาคตห้องสมุดอาจจะได้ใช้ประโยชน์จาก QR Code จริง ๆ ก็เป็นได้

สมาชิกกลุ่ม CoPs ประกอบด้วย
  • ดร.สมรักษ์ สหพงศ์
  • นางสาวเพ็ญศรี ไชยพงศ์
  • นายกิติศักดิ์ จันฤาชัย
  • นางสาวสุภาภรณ์ แก้วโภคา
  • นายเกรียงศักดิ์ บุญถวิล
  • นางสาวไพลิน ทิพย์สุมาลัย
  • นางสาวพัฒชา เสตะกสิกร
  • นางสาวกนกอร ไชยรัตน์
  • นางสาวชัชชญา คัณฑเขตต์
  • นางภนิตา พรหมนิตย์
  • นางเบญจวรรณ ประกอบทอง
  • นายปกรณ์ สุวรรณสถิตย์
  • นางวัชรินทร์ กนกทรัพย์
  • นางสุรางค์ ธีระมิตร
  • นางนิภา กระจ่างวุฒิชัย
  • นางวีณา ชัยเวช
  • นางพรทิพย์ ยินดีธรรม
  • นางสาวอรุณรัตน์ อินผึ้ง
  • นางสาวพรชนก นุชนารถ
  • นางสาววิมลลักษณ์ อิ่มโอชา
  • นางสาวลักขณา บุบผาชาติ
  • นายอาทิตย์ โสลี
  • นางสาววิไลวรณ์ ดีตัน
  • นางสาวเมทินี แสวานี

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

ความสัมพันธ์ของการใช้หนังสือและการจัดซื้อในปี 2552 ของห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหนังสือที่จัดหาโดยการจัดซื้อด้วยเงินคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ประจำปี พ.ศ. 2552 แบ่งการศึกษาเป็น 2 กลุ่ม: กลุ่มแรกคือ ข้อมูลการจัดซื้อหนังสือด้วยเงินคณะฯ ปี พ.ศ.2552 และมีเล่มให้บริการโดยไม่เป็นเล่มที่สูญหาย จำนวนทั้งสิ้น 309 เล่ม กลุ่มสองคือสถิติการยืมของหนังสือแต่ละหมวดหมู่และจำแนกตามหมวดหมู่ที่จัดหาโดยการจัดซื้อด้วยเงินคณะฯ ปี พ.ศ. 2552 จากระบบห้องสมุดอัตโนมัติ INNOPAC หาค่าความถี่ของการใช้หนังสือที่จัดหาโดยการจัดซื้อด้วยเงินคณะฯ ปี พ.ศ. 2552 และทดสอบหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนหนังสือที่จัดหาโดยการจัดซื้อด้วยเงินคณะฯ และปริมาณการใช้หนังสือในปี พ.ศ. 2552


          จากการวิจัยพบว่ามีการจัดซื้อหนังสือในหมวดเวชปฏิบัติ WB (Practice of Medicine) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 18.77 รองลงมาคือหมวดศัลยศาสตร์ WO (Surgery) คิดเป็นร้อยละ 9.38 และหมวดกุมารเวชศาสตร์ WS (Pediatrics) คิดเป็นร้อยละ 7.12 หนังสือในหมวดเวชปฏิบัติ WB (Practice of Medicine)มีการถูกขอยืมใช้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 12.03 รองลงมาคือหนังสือในหมวดการพยาบาล WY (Nursing) คิดเป็นร้อยละ 11.98 และหมวดศัลยศาสตร์ WO (Surgery ) คิดเป็นร้อยละ 7.38 และหนังสือที่มีการใช้น้อยที่สุด คือ หมวดพยาธิวิทยาคลินิก QY (Clinical Pathology) คือร้อยละ 0.06 และไม่มีการใช้เลยในหมวดกฎหมายระหว่างประเทศ KZ (Law of nations) หมวดปรัชญาภาษาศาสตร์และสัทศาสตร์ P (Philology, Linguistics) ตามลำดับ และจากการวิเคราะห์การเปรียบเทียบข้อมูลการจัดหาและใช้หนังสือพบว่า มีการจัดซื้อหนังสือโดยใช้เงินคณะฯ พ.ศ. 2552 ทั้งหมด 309 เล่ม มีอัตราการใช้ต่อเล่มเป็น 5.57 และมีอัตราการใช้ต่อเล่มมากที่สุดในหมวดจิตเวชศาสตร์ WM (Psychiatry) คือ 14.33 ครั้งต่อเล่ม

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คำขวัญและศูนย์รวมของห้องสมุด

          วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เวลา 14.00-15.00 น. กลุ่ม CoPs งานบริการได้จัดกิจกรรมขึ้น ณ ห้องปฏิบัติงานของบุคลากรห้องสมุด ชั้น 6 อาคารเรียนรวม ในหัวข้อ ท่านคิดว่าอะไรคือศูนย์รวมของห้องสมุด พร้อมทั้งคำขวัญ (Slogan) ที่กำหนดว่าจะต้องมีคำว่า “ยิ้ม” และ “บริการ” อยู่ในคำขวัญนั้นด้วย ซึ่งบุคลากรแต่ละท่านต่างแสดงความคิดเห็นและกล่าวถึงคำขวัญของตนเอง บางท่านคิดคำขวัญมามากกว่า 1 ประโยค จึงทำให้มีคำขวัญหลากหลายประโยค ดังนี้


  • “บริการไป ยิ้มไป”

  • “บริการเพริศพริ้งด้วยรอยยิ้มประทับใจ”

  • “บริการมีคุณค่า ทุกเวลามีรอยยิ้ม”

  • “รอยยิ้มรวมความรัก รู้จักให้แด่ผู้ใช้บริการ”

  • “เปี่ยมด้วยข้อมูล พร้อมให้บริการด้วยรอยยิ้ม”

  • “พร้อมให้บริการด้วยคุณภาพและรอยยิ้ม”

  • “เรามุ่งมั่นบริการด้วยหัวใจและรอยยิ้ม

  • “หัวใจในการให้บริการคือรอยยิ้มของเรา”

  • “รอยยิ้มบวกบริการมีค่าเท่ากับมิตรและจิตอาสา”

  • “ยิ้มคือมาตรฐาน บริการคือความเข้าใจ”

  • “ยิ้มอย่างดวงดารา บริการด้วยความมั่นใจ”

  • “ทำด้วยใจ พร้อมรอยยิ้ม ใส่ใจบริการ”

  • “ยิ้มแย้มแจ่มใส ความรู้คู่ความมั่นใจ พร้อมให้บริการ”

  • “ยิ้มละไม เต็มใจให้บริการ”

  • “บริการและรอยยิ้มจากใจคือสิ่งที่เรามอบให้ผู้ใช้บริการ”

  • “ ยิ้มรับฉับไว เต็มใจให้บริการ”

  • “สบตาแล้วยิ้มทักทาย เต็มใจให้บริการ”

  • “ยิ้มแย้มแจ่มใส ใส่ใจบริการ”

  • “ต้อนรับด้วยรอยยิ้ม บริการด้วยใจ”

  • “หนึ่งยิ้มคือหนึ่งการบริการ”

  • “บริการประทับจิต รอยยิ้มประทับใจ คือหัวใจเราชาว LIRA”

  • “บริการด้วยใจ ประทับใจด้วยรอยยิ้ม”

  • “บริการฉับไว ประทับใจด้วยรอยยิ้ม ปริ่มด้วยความสุข สนุกกับการทำงาน คือบริการของเรา”

  • “มั่นคงบริการ ศูนย์สื่อสารการเรียนรู้ เคียงคู่ด้วยรอยยิ้ม”

  • “หัวใจของงาน บริการด้วยใจ ละไมด้วยรอยยิ้ม พิมพ์ใจทุกท่าน คือบริการที่เป็นเลิศ”

  • “ยิ้มรับผู้ใช้ เต็มใจให้บริการ”

ภาพบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้


          คำขวัญต่าง ๆ ข้างต้นนี้ต่างมีความหมายที่ดีแสดงให้เห็นว่าการให้บริการกับรอยยิ้มนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการควรต้องมีและทำควบคู่กันไป บางท่านบอกว่าต้องยิ้มทุกครั้งที่ให้บริการ หรือบางท่านบอกว่าบางครั้งผู้ให้บริการอาจมีอารมณ์ที่ขุ่นมัว แต่เมื่อต้องให้บริการแก่ผู้ใช้ ก็ต้องยิ้มและใส่ใจผู้ใช้บริการ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดี และบางท่านเห็นว่าการทำแบบสอบถามผู้ใช้บริการเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เราทราบถึงความต้องการของผู้ใช้บริการ บางท่านต้องการให้ผู้ใช้เกิดความประทับใจคิดถึงในสิ่งที่ดีของหน่วยงาน ส่วนจุดศูนย์รวมของหน่วยงานนั้น แต่ละท่านก็ได้แสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย เช่น ทรัพยากรสารสนเทศ ข้อมูลสารสนเทศ การสนองต่อนโยบายของคณะ คน ซึ่งหมายถึง ทั้งผู้ให้และผู้ใช้บริการ เป็นต้น

          กล่าวโดยสรุปแล้ว จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ บุคลากรส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าสิ่งที่ควรจะเป็นจุดศูนย์รวมของงานบริหารทรัพยากรแห่งการเรียนรู้ คือ “การบริการ” และ “ผู้ใช้บริการ” คือต้องให้ความสำคัญแก่ผู้ใช้บริการมาเป็นอันดับแรก และบริการอย่างมี “Service Mind” และ คำขวัญที่เหมาะสมที่สุด คือ “บริการด้วยใจ ประทับใจด้วยรอยยิ้ม”

สมาชิกกลุ่ม CoPs ประกอบด้วย

  • ดร.สมรักษ์ สหพงศ์
  • นางสาวเพ็ญศรี ไชยพงศ์
  • นายกิติศักดิ์ จันฤาชัย
  • นางสาวสุภาภรณ์ แก้วโภคา
  • นายเกรียงศักดิ์ บุญถวิล
  • นางสาวไพลิน ทิพย์สุมาลัย
  • นางสาวพัฒชา เสตะกสิกร
  • นางสาวกนกอร ไชยรัตน์
  • นางสาวชัชชญา คัณฑเขตต์
  • นางภนิตา พรหมนิตย์
  • นางเบญจวรรณ ประกอบทอง
  • นายปกรณ์ สุวรรณสถิตย์
  • นางวัชรินทร์ กนกทรัพย์
  • นางสุรางค์ ธีระมิตร
  • นางนิภา กระจ่างวุฒิชัย
  • นางวีณา ชัยเวช
  • นางพรทิพย์ ยินดีธรรม
  • นางสาวอรุณรัตน์ อินผึ้ง
  • นางสาววิมลลักษณ์ อิ่มโอชา
  • นางสาวลักขณา บุบผาชาติ
  • นายอาทิตย์ โสลี
  • นางสาววิไลวรณ์ ดีตัน
  • นางสาวเมทินี แสวานี
  • นางจิตภินันท์ อินทร์เผือก
  • นางลำใย ฤกษ์สุนทรี

วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

เรียน...ภาษาอังกฤษ...วันอังคาร

          จากที่ได้ไปสัมมนาโครงการภาษาอังกฤษที่ จ.นครนายก ทำให้หัวหน้างานฯ เห็นว่าควรมีการ ~~ ต่อยอดองค์ความรู้ ~~ ให้กับบุคลากรของหน่วยงานทุกท่าน จึงได้เรียนเชิญ ดร.บุษกร มาช่วยสอนภาษาอังกฤษแก่บุคลากรของห้องสมุดโดย...อาจารย์ไม่ได้คิดค่าเล่าเรียน... ทางห้องสมุดจึงซื้ออาหารเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น นม หรือ ผลไม้ให้อาจารย์ได้ทานในระหว่างที่สอน เพื่อเป็นการตอบแทน โดยจะเรียนกันทุกวันอังคาร ที่ห้องบุคลากร ชั้น 6 เวลา 12.00-13.00 น. เริ่มเรียนประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2553

ภาพบรรยากาศการเรียน

          บรรยากาศในการเรียนก็เป็นแบบกันเอง ทุกคนสามารถพูดและออกความคิดเห็น หรือถามอาจารย์ในสิ่งที่ต้องการทราบได้ ส่วนวิธีการสอนนั้น อาจารย์จะมีแบบฝึกหัด บทสนทนา หรือสั่งการบ้าน เพื่อให้เราออกมานำเสนอให้เพื่อน ๆ ฟัง ต่อไปจะได้เก่ง ๆ ภาษาอังกฤษกันทุกคน พบชาวต่างชาติแล้วก็สามารถ ฟุด ฟิด ฟอร์ ฟัน ได้เลย

.....องค์ความรู้ที่ได้จากกิจกรรมนี้ คือ ทุกคนจะทราบคำศัพท์และประโยคการสนทนาภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ มีความมั่นใจในการให้บริการชาวต่างชาติมากขึ้น.....

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการการใช้ภาษาอังกฤษในการให้บริการแก่ชาวต่างประเทศ

          ห้องสมุดได้จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการใช้ภาษาอังกฤษในการให้บริการแก่ชาวต่างประเทศ เมื่อวันที่ 9-10 มกราคม 2553 ที่ภูเขางามรีสอร์ท จ. นครนายก เนื่องจากห้องสมุดเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ตระหนักถึงการให้บริการแก่ชาวต่างประเทศซึ่งส่วนใหญ่มาใช้บริการเพื่อประกอบการศึกษา การวิจัย รวมถึงการศึกษาดูงานภายในคณะฯ เป็นจำนวนมากและตลอดเวลา อีกทั้งบุคลากรหน่วยงาน ต้องมีการติดต่อสื่อสารกับผู้จำหน่ายทรัพยากรสารสนเทศและมีการเข้าร่วมฟังการบรรยาย การเสวนาทางวิชาชีพกับชาวต่างประเทศ และยังสอดคล้องกับค่านิยมของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ว่า “มุ่งเรียนรู้ คู่คุณธรรม นำสู่คุณภาพ”

พิธีเปิดการสัมมนาฯ

สัมมนาวันแรก
          หลังจากการสัมมนาแล้ว ก็ได้รับผลตอบรับที่น่าพึงพอใจเลยทีเดียว โดยผลการประเมินออกมา ดังนี้- เพิ่มพูนความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษได้ในระดับดีมาก รองลงมาคือ ดี
- เนื้อหาตรงกับงานที่ปฏิบัติในระดับดีมาก รองลงมาคือ ดี
- สามารถนำความรู้ด้านภาษาอังกฤษไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในระดับดีมาก รองลงมาคือ ดี
- มีความมั่นใจ / กล้าที่จะใช้ภาษาอังกฤษในการให้บริการแก่ชาวต่างประเทศในระดับดีรองลงมาคือ ดีมาก
ภาพบรรยากาศการประกวด Mr. & Miss International Night 2010
          ผลที่ได้จากการสัมมนา นอกจากการที่เราได้ไปพักผ่อนหย่อนใจกันแล้ว...สิ่งสำคัญที่เราได้กลับมา คือ คำศัพท์และประโยคภาษาอังกฤษที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงาน เช่น คำศัพท์ต่าง ๆ ก็เป็นคำศัพท์ที่อยู่ภายในคณะและหน่วยงานของเรา จากการไปสัมมนาครั้งนี้ ความรู้ที่ได้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานได้มากทีเดียว...