วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

ส่งไม้คำถามเพิ่มความรู้ ครั้งที่ 1 : QR Code กับงานห้องสมุด

กลุ่ม CoPs เทคโนโลยี เห็นว่าปัจจุบันนี้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้เกิดขึ้นมาอย่างรวดเร็ว และไม่หยุดนิ่ง ดังนั้นจึงได้เกิดกิจกรรม "ส่งไม้คำถามเพิ่มความรู้" ขึ้น ลักษณะของกิจกรรมนี้ คือ หาคำศัพท์ที่ทันสมัยมาให้เพื่อน ๆ ค้นหาความหมายและอธิบายถึงประโยชน์ในการนำมาใช้ภายในหน่วยงาน โดยสัปดาห์แรกของกลุ่ม CoPs นี้เริ่มขึ้นช่วงวันที่ 6 10 กันยายน 2553 ซึ่งใช้ชื่อว่า "QR Code กับงานห้องสมุด" คือ ให้ทุกคนไปหาความหมายและประโยชน์ของ QR Code รวมถึงการนำมาประยุกต์ใช้ในงานหน่วยงาน
กล่าวโดยสรุปแล้ว QR Code เป็นคำย่อมาจาก Quick Response Code เป็นรูปแบบบาร์โค้ด 2 มิติแบบใหม่เรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า “Two-Dimensional Bar Code” QR Code สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ทั้งภาพ เสียงและข้อความ สำหรับ QR Code นั้นมีมาตั้งแต่ปี 1994 ซึ่งคิดค้นโดยบริษัท Denso Wave จากประเทศญี่ปุ่น ลักษณะการทำงานของ QR Code เพียงแค่ใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพ QR Code ที่เห็นและนำไปอ่านด้วยโปรแกรม QR Code Reader เพียงแค่นี้ก็สามารถได้รายละเอียดข้อมูลของ QR Code นั้น ๆ ได้


Barcode 1 มิติ หรือ Barcode รหัสแท่ง




พัฒนามาเป็น Barcode 2 มิติ หรือ QR Code
          ในส่วนของการสร้าง QR Code ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปสร้างได้ที่เว็บไซต์ http://qrcode.kaywa.com/ จากนั้นเลือกหัวข้อที่ต้องการจะสร้าง เช่น ลิงค์ของเว็บไซต์ ชื่อที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น


          จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้ได้ข้อสรุปการนำ QR Code มาใช้ในงานห้องสมุด ดังนี้
- ในส่วนของการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับงานห้องสมุด เช่น เว็บไซต์ของห้องสมุด/หอจดหมายเหตุ แผนที่ แผนผังของห้องสมุด เวลาเปิด-ปิดห้องสมุด เบอร์โทรศัพท์ของห้องสมุด นำมาเผยแพร่บล็อก Facebook Twitter แผ่นพับ โปสเตอร์ รวมทั้งเอกสารการอบรมการใช้ฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่ห้องสมุดบอกรับ เป็นต้น


- บันทึกข้อมูลจัดทำนามบัตร ข้อมูลครุภัณฑ์ของห้องสมุด เอกสารหนังสือเวียนต่าง ๆ เพื่อประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บเอกสาร ประหยัดเวลา และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน


- บันทึกข้อมูลรายละเอียดของห้องประชุม เช่น ตารางการใช้ห้อง จำนวนที่นั่ง/อุปกรณ์เทคโนโลยีที่มีให้บริการ เป็นต้น


- บันทึกรายละเอียดทางบรรณานุกรมของหนังสือแต่ละเล่ม เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ปี จำนวนหน้า เป็นต้น


- บันทึกข้อมูลข้อมูลด้านการจัดซื้อจัดหา เช่น รายชื่อหนังสือใหม่ ข้อมูลร้านจำหน่ายหนังสือ เป็นต้น


- บันทึกข้อมูลรายชื่อหุ่นและอุปกรณ์ใน Skill Lab


- นำ QR Code มาใช้ในงานจดหมายเหตุ เช่น หนังสือ/เอกสารเก่าๆ รวมทั้งรูปภาพที่หายากและมีคุณค่าไม่ต้องการให้จับต้อง สามารถ Scan Code รายละเอียดของเอกสารเหล่านั้น ติดไว้ด้านหน้าตู้หรือกล่องให้ผู้ที่สนใจ Scan Code อ่านข้อมูลได้


- นำมาบันทึกแบบประเมินผล รวมทั้งข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการได้


          นอกจากจะทำให้ได้รับความรู้และประโยชน์ของ QR Code แล้ว ทุกคนก็สามารถที่จะทำ QR Code ได้ด้วยตนเองจากเว็บไซต์ข้างต้น และต่อไปในอนาคตห้องสมุดอาจจะได้ใช้ประโยชน์จาก QR Code จริง ๆ ก็เป็นได้

สมาชิกกลุ่ม CoPs ประกอบด้วย
  • ดร.สมรักษ์ สหพงศ์
  • นางสาวเพ็ญศรี ไชยพงศ์
  • นายกิติศักดิ์ จันฤาชัย
  • นางสาวสุภาภรณ์ แก้วโภคา
  • นายเกรียงศักดิ์ บุญถวิล
  • นางสาวไพลิน ทิพย์สุมาลัย
  • นางสาวพัฒชา เสตะกสิกร
  • นางสาวกนกอร ไชยรัตน์
  • นางสาวชัชชญา คัณฑเขตต์
  • นางภนิตา พรหมนิตย์
  • นางเบญจวรรณ ประกอบทอง
  • นายปกรณ์ สุวรรณสถิตย์
  • นางวัชรินทร์ กนกทรัพย์
  • นางสุรางค์ ธีระมิตร
  • นางนิภา กระจ่างวุฒิชัย
  • นางวีณา ชัยเวช
  • นางพรทิพย์ ยินดีธรรม
  • นางสาวอรุณรัตน์ อินผึ้ง
  • นางสาวพรชนก นุชนารถ
  • นางสาววิมลลักษณ์ อิ่มโอชา
  • นางสาวลักขณา บุบผาชาติ
  • นายอาทิตย์ โสลี
  • นางสาววิไลวรณ์ ดีตัน
  • นางสาวเมทินี แสวานี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น