วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

ความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการของห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

          การวิจัยแบบสำรวจนี้ เป็นการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการจำนวน 200 คน ต่อคุณภาพบริการของห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีนี้ใช้เครื่องมือการประเมินคุณภาพทางห้องสมุดที่เป็นสากลคือ LibQUAL+ ซึ่งประกอบด้วย ความพึงพอใจ 3 ด้าน คือ ความรู้สึกด้านบริการห้องสมุด 3 ด้านคือ ความรู้สึกที่มีต่อบริการ (Affect of service) ห้องสมุดคือแหล่งค้นคว้า (Library as place) และการควบคุมสารสนเทศ (Information control) โดยให้มีระดับความพึงพอใจ 3 ระดับ คือ ต่ำสุดที่ยอมรับได้ บริการที่ต้องการและบริการที่ได้รับจริง แต่ละระดับมีคะแนน 1-9 คือ ต่ำ เป็น 1 และ  สูง เป็น 9 รวมทั้งสอบถามระดับที่เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ภาพรวม ความถี่การเข้าใช้ห้องสมุด เพราะเมื่อพิจารณาคะแนนของระดับบริการที่ได้รับจริงในแต่ละข้อ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นไปตามที่ผู้ประเมินต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านที่ผู้ให้บริการมีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ (ร้อยละ 85)  ในด้านคุณภาพโดยรวมของห้องสมุดในระดับสูง (ร้อยละ 80) มีความพึงพอใจที่ได้รับการปฏิบัติจากห้องสมุดในระดับดีเลิศ (ร้อยละ 90) ผลจากการวิเคราะห์ความพึงพอใจในส่วนของห้องสมุดมีส่วนในการเพิ่มสมรรถนะทางการศึกษาในระดับสูงและมีความพึงพอใจต่อความช่วยเหลือของห้องสมุดในด้านการศึกษา วิจัย และการสอนในระดับสูง  เป็นการบ่งบอกว่า ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนพันธกิจด้านการศึกษาซึ่งเป็นพันธกิจหลักของคณะฯโดยมีผลงานที่เป็นที่ประจักษ์แก่องค์กรหลักได้ดี อย่างไรก็ตามห้องสมุดต้องปรับปรุงเว็บไซต์ให้ใช้งานง่ายขึ้น

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

อบรม Microsoft Word 2007

          วันที่ 18-20 กันยายน 2553 หน่วยสร้างเสริมการรู้สารสนเทศ ได้จัดฝึกอบรมการใช้โปรแกรม Microsoft Word 2007 เนื่องจาก Microsoft Office ได้ปรับปรุงเป็นเวอร์ชั่น 2007 ซึ่งปัจจุบันทุกท่านยังไม่คุ้นเคย เพราะส่วนใหญ่ยังใช้เวอร์ชั่น 2003 แต่อนาคตต่อไปคงต้องเปลี่ยนเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด ดังนั้นกลุ่ม CoPs จึงเล็งเห็นว่าเราควรพัฒนาให้ทันกับโลกปัจจุบัน จึงจัดการอบรมนี้ขึ้นมา โดยผู้อบรมคือ คุณวิไลวรณ์ ดีตัน บรรยากาศในระหว่างการอบรมค่อนข้างเป็นกันเอง มีการถาม-ตอบกันไปมาระหว่างผู้อบรมและผู้เข้าร่วม

วิไลวรณ์ ดีตัน     และ     บรรยากาศการอบรม

        Microsoft Word 2007เป็นหนึ่งโปรแกรมของโปรแกรม Suite (รวมมิตร) ซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมหลัก ๆ คือ

  • Microsoft Word - งานเอกสาร
  • Microsoft Excel - งานตาราง คำนวณ
  • Microsoft PowerPoint - งานนำเสนอข้อมูล
  • Microsoft Access - งานระบบฐานข้อมูล
          เดิมการพัฒนาของ Microsoft ที่เกี่ยวเนื่องกับ Microsoft Office จะไม่มีความแตกต่างมากนัก โดยมักเน้นพัฒนาในเรื่องของความสามารถ (Features) ของโปรแกรมให้มากขึ้น ใช้งานสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้งานเป็นหลัก แต่ต่อมา นับตั้งแต่ Microsoft Office 2007 พัฒนาขึ้นมา และเริ่มใช้งาน จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยเฉพาะหน้าตาและไอคอนต่าง ๆ ซึ่งเมนูและไอคอน หาย เปลี่ยนเป็น Ribbon (ทูลบาร์ใน Microsoft Office เวอร์ชั่นเก่า เป็นที่รวมเครื่องมือต่างๆ ในการใช้งานและสั่งงานต่าง ๆ) แทน
  • ไฟล์ที่บันทึก (Save) เดิมมีนามสกุล .DOC ของใหม่เปลี่ยนเป็น .DOCX
  • การปรับแต่งโปรแกรมจากเมนู Options ถูกย้ายมาสู่ Office Button แล้ว ให้คลิกเลือก จะอยู่มุมขวาล่าง "Word Options"
  • เราสามารถปรับเปลี่ยนการบันทึกไฟล์จาก .DOCX เป็น .DOC ได้ เพื่อแก้ปัญหาคนอื่น ไม่สามารถเปิดดูได้โดยการเข้าไปที่ "Word Options" เลือกหัวข้อ "Save" จากนั้น ให้เลือก "Save files in this format" ให้เลือกเป็น "Word 97-2003 Document"
  • ถ้าต้องการบันทึก ให้คลิกไอคอนวงกลมด้านบนซ้ายสุด (Office Button) จะมีเมนูให้เลือก Save

                        ภาพเปรียบเทียบระหว่าง Microsoft Word 2007 และ 2003
Word 2007 (บน) VS Word 2003 (ล่าง)

          จากการฝึกอบรมครั้งนี้ ทำให้เราทราบความแตกต่างระหว่าง Microsoft Word 2007 กับ 2003 และรู้จักวิธีการใช้งานในแต่ละเมนู เพื่อรองรับเทคโนโลยีต่างในอนาคต และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

สมาชิกผู้เข้าร่วมอบรม ประกอบด้วย
  • นายกิติศักดิ์ จันฤาชัย
  • นางสาวสุภาภรณ์ แก้วโภคา
  • นายเกรียงศักดิ์ บุญถวิล
  • นางสาวไพลิน ทิพย์สุมาลัย
  • นางสาวพัฒชา เสตะกสิกร
  • นางสาวกนกอร ไชยรัตน์
  • นางสาวชัชชญา คัณฑเขตต์
  • นางภนิตา พรหมนิตย์
  • นางเบญจวรรณ ประกอบทอง
  • นายปกรณ์ สุวรรณสถิตย์
  • นางวัชรินทร์ กนกทรัพย์
  • นางสุรางค์ ธีระมิตร
  • นางนิภา กระจ่างวุฒิชัย
  • นางวีณา ชัยเวช
  • นางพรทิพย์ ยินดีธรรม
  • นางสาวอรุณรัตน์ อินผึ้ง
  • นางสาวพรชนก นุชนารถ
  • นางสาววิมลลักษณ์ อิ่มโอชา
  • นางสาวลักขณา บุบผาชาติ
  • นายอาทิตย์ โสลี
  • นางสาวเมทินี แสวานี




วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

ส่งไม้คำถามเพิ่มความรู้ ครั้งที่ 2 : Social Network

          ส่งไม้คำถามเพิ่มความรู้ ครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นช่วงวันที่ 13 – 17 กันยายน 2553 ซึ่งปัจจุบันนี้ Social Network เป็นคำที่มีการพูดถึงเป็นจำนวนมาก ดังนั้น กลุ่ม CoPs เทคโนโลยี จึงได้หยิบยกคำนี้ขึ้นมาตั้งเป็นโจทย์ เพื่อให้เพื่อน ๆ ค้นหาความหมายและอธิบายถึงประโยชน์ในการนำมาใช้ภายในหน่วยงาน สมาชิกกลุ่ม CoPs ประกอบด้วย


          จากการรวบรวมคำอธิบายของแต่ละคน จึงสรุปคำว่า "Social Network" ดังนี้

          Social Network คือ สังคมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือสังคมบนโลกออนไลน์นั้นเอง เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบของเว็บไซต์ในการสร้างเครือข่ายสังคมสำหรับผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต โดยที่บุคคลสามารถทำความรู้จักเขียนและอธิบายความสนใจ กิจกรรมที่ได้ทำและเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ในสังคมบนโลกออนไลน์มักจะประกอบไปด้วยการ Chat การส่งข้อความ ส่ง E-mail เว็บบอร์ด บล็อก ฯลฯ


Social Network เริ่มต้นมาจากเว็บไซต์ Classmates.comและเว็บไซต์ SixDegrees.com ได้จัดทำขึ้นเพื่อจำกัดการใช้งานเฉพาะกลุ่มนักเรียนในโรงเรียนเดียวกัน โดยสร้างประวัติ การส่งข้อความติดต่อสื่อสาร รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สนใจร่วมกันภายในกลุ่มเท่านั้น ต่อมามีเว็บไซต์ Epinions.com พัฒนาโดย Jonathan Bishop ได้ทำการเพิ่มในส่วนของการที่ผู้ใช้สามารถควบคุมเนื้อหาและติดต่อถึงกันได้ไม่เพียงแต่เพื่อนในลิสต์เท่านั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ Social Networking ทั้งหลายที่ก่อกำเนิดต่อมาในยุคปัจจุบัน เช่น Facebook, Myspace, Google เป็นต้น


          เนื่องจากมีเว็บไซต์ในลักษณะ Social Network เป็นจำนวนมาก จึงแบ่งประเภทของ Social Network ได้ 6 ประเภท ดังนี้

1. ประเภทแหล่งข้อมูลหรือความรู้ (data/knowledge) เช่น wikipedia, answers, google, digg, bittorrent ฯลฯ เป็นต้น

2. ประเภทสื่อ (media) การแบ่งปันภาพ คลิปวีดีโอ ภาพยนตร์ เพลง ฯลฯ YouTube, imeem, Bebo, Yahoo Video, Ustream.tv ฯลฯ เป็นต้น

3. ประเภทเกมส์ออนไลน์ (online games) ที่นิยมมาก เช่น Ragnarok, Audition, Pangya, SecondLife ฯลฯ เป็นต้น

4. ประเภทสร้างเครือข่ายทางสังคม (community) เช่น Hi5, Facebook, MySpace, MyFriend ฯลฯ เป็นต้น

5. ประเภทฝากภาพ (Photo management) เช่น Flickr, Photoshop Express, Photobucket ฯลฯ เป็นต้น

6.ประเภทซื้อ-ขาย (business/commerce) เช่น eBay, Amazon, Tarad, Pramool เป็นต้น

Social Network

การนำ Social Network มาใช้ในงานห้องสมุด

- ใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ข้อมูลกิจกรรมต่างๆภายในหน่วยงาน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งสะดวก รวดเร็ว ผู้ใช้สามารถรับข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน

- เป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนความรู้หรือแสดงความคิดเห็น ในเรื่องต่างๆ เช่นการใช้บล็อก สร้างกลุ่มสนนทนา ตอบคำถามให้แก่ผู้ใช้ รวมไปถึงข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการ เป็นต้น

- เป็นช่องทางในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับหน่วยงาน

สมาชิกกลุ่ม CoPs ประกอบด้วย
  • ดร.สมรักษ์ สหพงศ์
  • นางสาวเพ็ญศรี ไชยพงศ์
  • นายกิติศักดิ์ จันฤาชัย
  • นางสาวสุภาภรณ์ แก้วโภคา
  • นายเกรียงศักดิ์ บุญถวิล
  • นางสาวไพลิน ทิพย์สุมาลัย
  • นางสาวพัฒชา เสตะกสิกร
  • นางสาวกนกอร ไชยรัตน์
  • นางสาวชัชชญา คัณฑเขตต์
  • นางภนิตา พรหมนิตย์
  • นางเบญจวรรณ ประกอบทอง
  • นายปกรณ์ สุวรรณสถิตย์
  • นางวัชรินทร์ กนกทรัพย์
  • นางสุรางค์ ธีระมิตร
  • นางนิภา กระจ่างวุฒิชัย
  • นางวีณา ชัยเวช
  • นางพรทิพย์ ยินดีธรรม
  • นางสาวอรุณรัตน์ อินผึ้ง
  • นางสาวพรชนก นุชนารถ
  • นางสาววิมลลักษณ์ อิ่มโอชา
  • นางสาวลักขณา บุบผาชาติ
  • นายอาทิตย์ โสลี
  • นางสาววิไลวรณ์ ดีตัน
  • นางสาวเมทินี แสวานี

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

ส่งไม้คำถามเพิ่มความรู้ ครั้งที่ 1 : QR Code กับงานห้องสมุด

กลุ่ม CoPs เทคโนโลยี เห็นว่าปัจจุบันนี้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้เกิดขึ้นมาอย่างรวดเร็ว และไม่หยุดนิ่ง ดังนั้นจึงได้เกิดกิจกรรม "ส่งไม้คำถามเพิ่มความรู้" ขึ้น ลักษณะของกิจกรรมนี้ คือ หาคำศัพท์ที่ทันสมัยมาให้เพื่อน ๆ ค้นหาความหมายและอธิบายถึงประโยชน์ในการนำมาใช้ภายในหน่วยงาน โดยสัปดาห์แรกของกลุ่ม CoPs นี้เริ่มขึ้นช่วงวันที่ 6 10 กันยายน 2553 ซึ่งใช้ชื่อว่า "QR Code กับงานห้องสมุด" คือ ให้ทุกคนไปหาความหมายและประโยชน์ของ QR Code รวมถึงการนำมาประยุกต์ใช้ในงานหน่วยงาน
กล่าวโดยสรุปแล้ว QR Code เป็นคำย่อมาจาก Quick Response Code เป็นรูปแบบบาร์โค้ด 2 มิติแบบใหม่เรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า “Two-Dimensional Bar Code” QR Code สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ทั้งภาพ เสียงและข้อความ สำหรับ QR Code นั้นมีมาตั้งแต่ปี 1994 ซึ่งคิดค้นโดยบริษัท Denso Wave จากประเทศญี่ปุ่น ลักษณะการทำงานของ QR Code เพียงแค่ใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพ QR Code ที่เห็นและนำไปอ่านด้วยโปรแกรม QR Code Reader เพียงแค่นี้ก็สามารถได้รายละเอียดข้อมูลของ QR Code นั้น ๆ ได้


Barcode 1 มิติ หรือ Barcode รหัสแท่ง




พัฒนามาเป็น Barcode 2 มิติ หรือ QR Code
          ในส่วนของการสร้าง QR Code ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปสร้างได้ที่เว็บไซต์ http://qrcode.kaywa.com/ จากนั้นเลือกหัวข้อที่ต้องการจะสร้าง เช่น ลิงค์ของเว็บไซต์ ชื่อที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น


          จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้ได้ข้อสรุปการนำ QR Code มาใช้ในงานห้องสมุด ดังนี้
- ในส่วนของการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับงานห้องสมุด เช่น เว็บไซต์ของห้องสมุด/หอจดหมายเหตุ แผนที่ แผนผังของห้องสมุด เวลาเปิด-ปิดห้องสมุด เบอร์โทรศัพท์ของห้องสมุด นำมาเผยแพร่บล็อก Facebook Twitter แผ่นพับ โปสเตอร์ รวมทั้งเอกสารการอบรมการใช้ฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่ห้องสมุดบอกรับ เป็นต้น


- บันทึกข้อมูลจัดทำนามบัตร ข้อมูลครุภัณฑ์ของห้องสมุด เอกสารหนังสือเวียนต่าง ๆ เพื่อประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บเอกสาร ประหยัดเวลา และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน


- บันทึกข้อมูลรายละเอียดของห้องประชุม เช่น ตารางการใช้ห้อง จำนวนที่นั่ง/อุปกรณ์เทคโนโลยีที่มีให้บริการ เป็นต้น


- บันทึกรายละเอียดทางบรรณานุกรมของหนังสือแต่ละเล่ม เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ปี จำนวนหน้า เป็นต้น


- บันทึกข้อมูลข้อมูลด้านการจัดซื้อจัดหา เช่น รายชื่อหนังสือใหม่ ข้อมูลร้านจำหน่ายหนังสือ เป็นต้น


- บันทึกข้อมูลรายชื่อหุ่นและอุปกรณ์ใน Skill Lab


- นำ QR Code มาใช้ในงานจดหมายเหตุ เช่น หนังสือ/เอกสารเก่าๆ รวมทั้งรูปภาพที่หายากและมีคุณค่าไม่ต้องการให้จับต้อง สามารถ Scan Code รายละเอียดของเอกสารเหล่านั้น ติดไว้ด้านหน้าตู้หรือกล่องให้ผู้ที่สนใจ Scan Code อ่านข้อมูลได้


- นำมาบันทึกแบบประเมินผล รวมทั้งข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการได้


          นอกจากจะทำให้ได้รับความรู้และประโยชน์ของ QR Code แล้ว ทุกคนก็สามารถที่จะทำ QR Code ได้ด้วยตนเองจากเว็บไซต์ข้างต้น และต่อไปในอนาคตห้องสมุดอาจจะได้ใช้ประโยชน์จาก QR Code จริง ๆ ก็เป็นได้

สมาชิกกลุ่ม CoPs ประกอบด้วย
  • ดร.สมรักษ์ สหพงศ์
  • นางสาวเพ็ญศรี ไชยพงศ์
  • นายกิติศักดิ์ จันฤาชัย
  • นางสาวสุภาภรณ์ แก้วโภคา
  • นายเกรียงศักดิ์ บุญถวิล
  • นางสาวไพลิน ทิพย์สุมาลัย
  • นางสาวพัฒชา เสตะกสิกร
  • นางสาวกนกอร ไชยรัตน์
  • นางสาวชัชชญา คัณฑเขตต์
  • นางภนิตา พรหมนิตย์
  • นางเบญจวรรณ ประกอบทอง
  • นายปกรณ์ สุวรรณสถิตย์
  • นางวัชรินทร์ กนกทรัพย์
  • นางสุรางค์ ธีระมิตร
  • นางนิภา กระจ่างวุฒิชัย
  • นางวีณา ชัยเวช
  • นางพรทิพย์ ยินดีธรรม
  • นางสาวอรุณรัตน์ อินผึ้ง
  • นางสาวพรชนก นุชนารถ
  • นางสาววิมลลักษณ์ อิ่มโอชา
  • นางสาวลักขณา บุบผาชาติ
  • นายอาทิตย์ โสลี
  • นางสาววิไลวรณ์ ดีตัน
  • นางสาวเมทินี แสวานี

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

ความสัมพันธ์ของการใช้หนังสือและการจัดซื้อในปี 2552 ของห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหนังสือที่จัดหาโดยการจัดซื้อด้วยเงินคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ประจำปี พ.ศ. 2552 แบ่งการศึกษาเป็น 2 กลุ่ม: กลุ่มแรกคือ ข้อมูลการจัดซื้อหนังสือด้วยเงินคณะฯ ปี พ.ศ.2552 และมีเล่มให้บริการโดยไม่เป็นเล่มที่สูญหาย จำนวนทั้งสิ้น 309 เล่ม กลุ่มสองคือสถิติการยืมของหนังสือแต่ละหมวดหมู่และจำแนกตามหมวดหมู่ที่จัดหาโดยการจัดซื้อด้วยเงินคณะฯ ปี พ.ศ. 2552 จากระบบห้องสมุดอัตโนมัติ INNOPAC หาค่าความถี่ของการใช้หนังสือที่จัดหาโดยการจัดซื้อด้วยเงินคณะฯ ปี พ.ศ. 2552 และทดสอบหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนหนังสือที่จัดหาโดยการจัดซื้อด้วยเงินคณะฯ และปริมาณการใช้หนังสือในปี พ.ศ. 2552


          จากการวิจัยพบว่ามีการจัดซื้อหนังสือในหมวดเวชปฏิบัติ WB (Practice of Medicine) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 18.77 รองลงมาคือหมวดศัลยศาสตร์ WO (Surgery) คิดเป็นร้อยละ 9.38 และหมวดกุมารเวชศาสตร์ WS (Pediatrics) คิดเป็นร้อยละ 7.12 หนังสือในหมวดเวชปฏิบัติ WB (Practice of Medicine)มีการถูกขอยืมใช้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 12.03 รองลงมาคือหนังสือในหมวดการพยาบาล WY (Nursing) คิดเป็นร้อยละ 11.98 และหมวดศัลยศาสตร์ WO (Surgery ) คิดเป็นร้อยละ 7.38 และหนังสือที่มีการใช้น้อยที่สุด คือ หมวดพยาธิวิทยาคลินิก QY (Clinical Pathology) คือร้อยละ 0.06 และไม่มีการใช้เลยในหมวดกฎหมายระหว่างประเทศ KZ (Law of nations) หมวดปรัชญาภาษาศาสตร์และสัทศาสตร์ P (Philology, Linguistics) ตามลำดับ และจากการวิเคราะห์การเปรียบเทียบข้อมูลการจัดหาและใช้หนังสือพบว่า มีการจัดซื้อหนังสือโดยใช้เงินคณะฯ พ.ศ. 2552 ทั้งหมด 309 เล่ม มีอัตราการใช้ต่อเล่มเป็น 5.57 และมีอัตราการใช้ต่อเล่มมากที่สุดในหมวดจิตเวชศาสตร์ WM (Psychiatry) คือ 14.33 ครั้งต่อเล่ม