วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เสื้อผ้า!! หน้าสวย...รวยเสน่ห์

โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อ


  • เพื่อส่งเสริมบุคลิกภาพให้ดูดี

  • มีสไตล์ได้อย่างเหมาะสมกับรูปร่าง

  • มีบุคลิกภาพเป็นของตัวเราเอง

          โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการกันทั้งหน่วยงาน ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชายคงอยากจะมีบุคลิกภาพที่ดูดีกันทั้งนั้น โดยจะแจกแบบสอบถามผู้ร่วมโครงการก่อนและหลังโครงการ ซึ่งโครงการนี้ได้เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 (ทดลอง 3 เดือน) ในตอนแรกได้เชิญวิทยากรคือ คุณทองย้อย สุขุม มาบรรยายเกี่ยวกับ บุคลิกภาพ การแต่งกาย การรับและพูดโทรศัพท์ การแต่งหน้า-ทำผม ฯลฯ (น่าเสียดายจริง ๆ ที่ไม่มีรูปวิทยากรมาให้ดูกัน) แต่ก็มีบรรยากาศการแต่งหน้าของบุคลากรในหน่วยงานมาให้ดู เพราะในหน่วยงานก็มีบางท่านที่เรียกได้ว่าเป็นกูรูทางนี้เลยทีเดียว ก็ช่วยแต่งหน้าให้น้อง ๆ ออกมาสวยงามน่ารักอย่างในภาพ


บรรยากาศการฟังบรรยาย และลงมือแต่งหน้า


Before             &             After
          หลังจากสิ้นสุดโครงการแล้ว ทำให้บุคลากรมีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น และเกิดความเข้าใจในการเลือกสไตล์การแต่งตัว แต่งหน้า ได้อย่างเหมาะสมกับบุคลิกของตัวเองมากขึ้น สมกับชื่อโครงการจริง ๆ....

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

บริการอย่างไร...ให้มีประสิทธิภาพ

          เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เวลา 10.00-10.30 น. CoP กลุ่มงานบริการได้จัดกิจกรรม ในหัวข้อบริการอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ โดยเน้นถึงการได้รับคำติชมจากผู้ใช้บริการห้องสมุด บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้นต่างคนต่างแลกเปลี่ยนถึงสิ่งที่ตนเองประสบพบเจอ ทั้งที่น่าปลื้มใจ หรือในบางเรื่องอาจจะต้องปรับปรุง สรุปแล้วทำให้ได้ทราบเทคนิคเกี่ยวกับการบริการ ดังนี้

1. บริการให้รวดเร็วทันใจผู้ใช้บริการ และกล่าวคำขอบคุณผู้ใช้ฯ ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุด
2. เอาใจเขามาใส่ใจเรา คิดว่าผู้ใช้บริการต้องการสิ่งที่ดี ๆ จากผู้ให้บริการ สอบถามถึงความต้องการของผู้ใช้ และแนะนำเพิ่มเติม
3. เอาใจใส่ผู้ใช้บริการ และให้บริการอย่างเต็มความสามารถ
4. หากยังไม่สามารถทำในสิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องการได้ ต้องเก็บไว้ก่อนแล้วคอยติดตามทำให้
5. มีการติดตามงานตลอดเวลา
6. ให้ความเป็นกันเอง ใส่ใจในความสนใจสารสนเทศของผู้ใช้บริการ
7. คอยสังเกตพฤติกรรมว่าผู้ใช้บริการค้นหาสารสนเทศได้หรือไม่ และสอบถามความต้องการของผู้ใช้ฯ
8. พยายามให้บริการหรือหาสารสนเทศที่ผู้ใช้บริการต้องการให้ได้ หากทำไม่ได้ต้องสอบถามผู้รู้ และต้องแจ้งข้อมูลให้ผู้ใช้ฯ ทราบว่าต้องใช้เวลาเท่าใด
9. หากให้บริการแก่ผู้ใช้ฯ ที่กำลังหงุดหงิด ซึ่งเป็นผลพวงมาจากไม่ได้รับข้อมูลจากผู้ให้บริการท่านอื่น ๆ ให้กล่าวคำขอโทษก่อน แล้วติดตามงานให้
จากเทคนิคต่าง ๆ ข้างต้น ทำให้สรุปได้ว่า หลักสำคัญสำหรับการให้บริการนั้นคือ ต้องเอาใจใส่ผู้ใช้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ให้บริการอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถ และเต็มใจ รวมทั้งคอยติดตามงานอย่างสม่ำเสมอ จึงจะทำให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหากท่านใดมีเทคนิคดี ๆ เกี่ยวกับการให้บริการ ก็สามารถนำมาแลกเปลี่ยนกันได้นะคะ

สมาชิกกลุ่ม CoPs ประกอบด้วย

  • ดร.สมรักษ์ สหพงศ์
  • นางสาวเพ็ญศรี ไชยพงศ์
  • นายกิติศักดิ์ จันฤาชัย
  • นางสาวสุภาภรณ์ แก้วโภคา
  • นายเกรียงศักดิ์ บุญถวิล
  • นางสาวไพลิน ทิพย์สุมาลัย
  • นางสาวพัฒชา เสตะกสิกร
  • นางสาวกนกอร ไชยรัตน์
  • นางสาวชัชชญา คัณฑเขตต์
  • นางภนิตา พรหมนิตย์
  • นางเบญจวรรณ ประกอบทอง
  • นายปกรณ์ สุวรรณสถิตย์
  • นางวัชรินทร์ กนกทรัพย์
  • นางสุรางค์ ธีระมิตร
  • นางนิภา กระจ่างวุฒิชัย
  • นางวีณา ชัยเวช
  • นางพรทิพย์ ยินดีธรรม
  • นางสาวอรุณรัตน์ อินผึ้ง
  • นางสาววิมลลักษณ์ อิ่มโอชา
  • นางสาวลักขณา บุบผาชาติ
  • นายอาทิตย์ โสลี
  • นางสาววิไลวรณ์ ดีตัน
  • นางสาวเมทินี แสวานี
  • นางจิตภินันท์ อินทร์เผือก
  • นางลำใย ฤกษ์สุนทรี

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

โครงการสานสัมพันธ์เพื่อสร้างสรรค์งาน

          โครงการสานสัมพันธ์เพื่อสร้างสรรค์งานได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ณ งานบริหารทรัพยากรแห่งการเรียนรู้ (ห้องสมุด) โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อสร้างความสามัคคี และความสัมพันธ์อันดีของบุคลากร ในการทำงานร่วมกันด้วยความสุข ความเข้าใจกัน เพื่อจะได้มีผลงานออกมาในทางสร้างสรรค์ และได้เชิญรองคณบดีฝ่ายการศึกษา รศ.สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ เป็นประธานเปิดงาน จากนั้นให้แต่ละคนแนะนำตัวเองแบบต้องเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และรวมกลุ่มทำกิจกรรมตามโจทย์ และหลังจากนั้นมีการทำกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้


ประธาน และ ดร.สมรักษ์ กล่าวเปิดงาน


- ช่วงเช้าแบ่งกลุ่มเพื่อร่วมกันคิดและสร้างสรรค์งาน ตามหน่วยงานในห้องสมุด คือ

  • หน่วยบริหารงานทั่วไป
  • หน่วยพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
  • หน่วยบริการ
  • หน่วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • หน่วยสร้างเสริมการรู้สารสนเทศ
- นำเสนอแนวทางในการสร้างสรรค์งาน

- ช่วงบ่ายแบ่งกลุ่มตามความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล และได้เพิ่มขึ้นอีก 1 หน่วย คือ ห้องประชุม

- ช่วงเย็นมีการประมูลของต่าง ๆ เพื่อนำเงินเข้าห้องสมุด

           หลังจากสิ้นสุดโครงการแล้ว ผลที่ได้ออกมาคือ

- บุคลากรเกิดความคิดสร้างสรรค์

- เกิดความรัก ความสามัคคี พร้อมทั้งมีความเข้าใจอันดีต่อเพื่อนร่วมงาน และผลงานออกมาตามที่ตนเองถนัด ความรู้ ความสามารถ

- เกิดความรู้ใหม่ที่สามารถจะนำไปพัฒนางานในอนาคต


ภาพกิจกรรมต่าง ๆ และถ่ายรูปหมู่

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

EBM กับ บรรณารักษ์แพทย์

          งานบริหารทรัพยากรการเรียนรู้ได้จัดกิจกรรมอบรมในหัวข้อ EBM : Evidence-Based Medicine ให้แก่บุคลากรในหน่วยงานที่เป็นบรรณารักษ์โดย ดร.สมรักษ์ สหพงศ์ รักษาการหัวหน้างานบริหารทรัพยากรการเรียนรู้ ซึ่งเป็นบรรณารักษ์แพทย์ที่มีความสนใจและผ่านการอบรมด้าน EBM มาพอสมควร ซึ่งเริ่มจัดอบรมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2552 – วันที่ 9 พฤศจิกายน 2552 รวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง


          โดยสรุปแล้ว กระบวนการเวชปฏิบัติเชิงประจักษ์ หรือกระบวนการ EBM (Evidence-Based Medicine) หมายถึง กระบวนการรักษาวินิจฉัยผู้ป่วยโดยการบูรณาการระหว่างประสบการณ์ ความรู้ ความชำนาญของแพทย์และองค์ความรู้ใหม่ที่เชื่อถือได้ รวมทั้งความเห็นและความเชื่อของผู้ป่วยเป็นกระบวนการรักษาที่มีระบบ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ

1. ตั้งคำถามหรือปัญหาที่เกี่ยวกับอาการผู้ป่วยแต่ละรายในขณะทำการรักษาผู้ป่วย (The Question Ask)

2. ค้นหาหลักฐานที่ดีที่สุดและเชื่อถือได้ (The Resources Acquire)

3. ประเมินตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานที่สืบค้นอย่างละเอียดถี่ถ้วน (The Evaluation Appraise)

4. นำผลการค้นคว้ามาประยุกต์กับผู้ป่วย (The Patient Apply)

5. ประเมินการนำวิธีการของเวชปฏิบัติเชิงประจักษ์ในการรักษาผู้ป่วย (The Self-Evaluation)

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับEBM เพิ่มเติมได้ที่ URL : http://library.ra.mahidol.ac.th/libra/th/